พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง
⭐️ สิทธิประโยชน์ พ.ร.บ. ⭐️
1. ค่าเสียหายที่เบื้องต้น
- จ่ายค่ารักษาสูงสุด 30,000 บาทต่อคน
- พิการหรือเสียชีวิต 35,000 บาทต่อคน
2. ค่าเสียหายที่ได้หากพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก
- จ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 80,000 บาทต่อคน
- พิการหรือเสียชีวิต 300,000 บาทค่อคน
- จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน
⭐️ ไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. ขาด ⭐️
1. กรณีเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี : เช่น เฉี่ยวชนกำแพง ชนต้นไม้ หรือไถลขอบฟุตบาธ แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดในพ.ร.บ. ทั้งสิ้น
2. กรณีขับรถชนคนอื่น : ทางผู้เสียหายสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยจะได้ค่ารักษาตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท และทางหน่วยงานจะทำการเก็บเบี้ยส่วนนั้นคืนจากเจ้าของรถ พร้อมกับทำการปรับ และชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
3. กรณีถูกคนอื่นชน : สำหรับกรณีที่ประสบเหตุถูกรถคันอื่นชน กรณีที่ฝ่ายผิดมีพ.ร.บ. ผู้ถูกชนก็ยังได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้เสียหาย โดยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้ ไม่เกิน 30,000 บาท และหากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท
4. กรณีโดนค่าปรับ : การที่พ.ร.บ. ขาดจะต้องเสียค่าปรับด้วยหากมีการเรียกตรวจ ซึ่งอัตราค่าปรับจะไม่เกิน 10,000 บาท
⭐️ การต่อ พ.ร.บ. ⭐️
1. กรณีขาดไม่เกิน 1 ปี : สามารถต่อภาษีได้โดยไม่เสียค่าปรับด้านพ.ร.บ.เพิ่มเติม แต่อาจโดนปรับในแง่ของภาษีรถ
2. กรณีขาดเกิน 2 ปี : ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพและเดินเรื่องด้วยตนเองที่ขนส่ง โดยดำเนินการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้
- ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
- สมุดทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
3. ขาดเกิน 3 ปี : ในกรณีขาดเกิน 3 ปีรถน่าจะถูกระงับทะเบียนไปแล้ว ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ พร้อมกับเสียค่าปรับ ซึ่งอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง โดยต้องเตรียมเอกสารใกล้เคียงกับการต่อทะเบียน ดังนี้
- ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
- สมุดทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
⭐️ ค่าใช้จ่ายการทำ พ.ร.บ. (ไม่รวมภาษี)⭐️
1. พ.ร.บ.รถยนต์
- รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง : 600 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง : 1,100 ถึง 3,740 บาท
- รถบรรทุก : 900 ถึง 1,700 บาท
- รถพ่วง : 600 บาท
2. พ.ร.บ.จักรยานยนต์
- ไม่เกิน 75 ซี.ซี. : 150 บาท
- เกินแต่ 75 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 125 ซี.ซี. : 300 บาท
- เกินแต่ 125 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 150 ซี.ซี. : 400 บาท
- เกิน 150 ซี.ซี. : 600 บาท
⭐️ ประกันภัยรถยนต์นะครับ ทำประกันวันนี้ ผ่อน 0% นาน 3 เดือน และส่วนลด 8% ⭐️
"ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1" ต้อง Chess Broker "เรื่องประกันภัยไว้ใจเรา"
❤️สนใจทำประกันภัยรถยนต์ แอดไลน์แล้วทักมาคุยกันได้เลยค่า❤️
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ประกันภัยรถชั้น 1 ราคาเริ่มต้นที่ 8,xxx บาท ให้ความคุ้มครองที่คุณต้องการ สอบถาม >>http://line.me/R/ti/p/@vxh4868w
บริษัท เชส โบรคเกอร์ จำกัด
โทร.092-8666666